การเสริมหน้าอกกับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

การเสริมหน้าอก กับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

การเสริมหน้าอก กับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

ท่านเคยสงสัยกันไหมคะว่า หาก “การเสริมหน้าอก” ช่วยให้ผู้มีหน้าอกเล็กมีหน้าอกที่ใหญ่ขึ้นได้ แล้วในกรณีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ต้องตัดเต้านมทิ้งสามารถที่จะใช้การเสริมเต้านมเพื่อที่จะช่วยเรื่องของสภาพจิตใจและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้ แล้วจะมีผลกระทบอะไรกับการรักษาหรือไม่

ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ต้องป่วยทางกายนั้นมักจะมีอาการป่วยทางด้านจิตใจด้วย เพราะมีความเครียดกับโรคที่เป็น การรักษาที่สำคัญคือความรักกำลังใจจากคนรอบข้าง ความเข้าคือสิ่งสำคัญไม่น้อย  เมื่อรักษาหายแล้วผู้ป่วยมักจะมีความเครียดความกังวลใจในการดำรงชีวิต กังวลปัญหาการใช้ชีวิตคู่ การใช้ชีวิตในสังคม ทั้งในผู้ที่แต่งงานแล้ว หรือผู้ที่ยังไม่แต่งงานก็ตาม  การที่ผู้หญิงเราต้องสูญเสียอวัยวะสำคัญที่เป็นสิ่งบ่งบอกถึงความเป็นผู้หญิง ย่อมส่งผลกระทบต่อสภาวะจิตใจและการดำเนินชีวิตอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว

ผู้คนทั่วไป หรือผู้ป่วยมะเร็งหน้าอกจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่ทราบว่าปัจจุบันนี้สามารถที่จะทำการเสริมเต้านมเทียมได้ หลังจากที่ถูกตัดเต้าออกจนหมด จากการศึกษาค้นหาข้อมูลพบว่า ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านม สามารถที่จะมีชีวิตที่ดีขึ้นได้  ด้วยการทำศัลยกรรมเสริมเต้านมเทียม

การทำเต้านมเทียมในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม สามารถทำได้ตอนไหน การผ่าตัดเพื่อเสริมเต้านม สามารถทำในคราวเดียวกับตอนที่ผ่าก้อนเนื้อมะเร็งออกไป หรือทำหลังจากนั้น

การผ่าตัดเสริมเต้านมที่ทำในคราวเดียวกับการผ่าก้อนเนื้อมะเร็งออกไป

  • สามารถทำแบบใส่ตัวถ่างชั่วคราวก่อน เพื่อที่จะเพิ่มช่องว่างในชั้นผิวหนังก่อนระยะแรก แล้วค่อยใส่หรือเสริมเต้าเทียมหรือซิลิโคนในภายหลัง วิธีนี้ค่อนข้างจะได้รูปทรงหน้าอกที่สวยงาม
  • หรือจะทำการเสริมเต้าเลยในขั้นตอนเดียวเมื่อทำการผ่าตัดก้อนเนื้อออก วิธีนี้จะทำได้ในกรณีที่เต้าเดิม หรือเต้านมอีกข้างมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก เพราะวิธีนี้จะไม่สามารถใส่เต้าเทียมที่มีขนาดใหญ่มากได้ เพราะ กล้ามเนื้อไม่มีความยืดหยุ่นมากพอ

ทำการผ่าตัดเสริมเต้านมหลังจากที่ ทำการบำบัดเรียบร้อยแล้ว คือหลังจากทำคีโมและฉายรังสีจนครบแล้ว ก็ทำได้

สำหรับวัสดุที่ใช้เสริมทำเต้านมก็เหมือนกับการเสริมหน้าอกโดยทั่วไป คือ ซิลิโคน หรือเนื้อเยื่อจากร่างกายส่วนอื่น เช่น หน้าท้อง สะโพก  หลัง เป็นต้น

อย่างไรก็ดีในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ต้องการเสริมหน้าอกนั้น จะต้องมีการคุยปรึกษากับแพทย์ผู้รักษามะเร็งเต้านมและแพทย์ที่ดูแลเรื่องการเสริมหน้าอก อย่างใกล้ชิด เพื่อทำความเข้าใจอย่างดีถึงข้อดีข้อเสียในแต่ละแบบ ก่อนทำการผ่าตัด เพื่อการบำบัดที่ดี  ได้หน้าอกที่สวยงาม บุคลิกภาพ และสภาพจิตใจที่ดีขึ้น